วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

เส้นทางฝันสีเลือด


หมอเป็นอาชีพยอดฮิตที่เมื่อถามเด็กไทยว่าอยากเป็นอะไรจะมีคนตอบหมดอย่างน้อย1ใน10คน แต่ในความจริงที่โหดร้ายนั้นจะพบว่าคณะนี้มีเปิดสอนเพียงไม่กี่มหาลัยและมีที่นั่งเพียงไม่กี่ที่เท่านั้นเมื่อเทียบกับปริมาณคนที่ต้องการจะเข้า ทั้งยังมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ยากและเวลายาวนาน ดังนั้นจึงมีเพียงแค่หัวกะทิตัวจริงเท่านั้นที่ได้เข้าขณะให้ฝันนี้ ซึ่งแน่นอนค่ะว่านี่คือคณะที่เราเลือก โดยเป้าหมายของเราคือคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งถือได้ว่าสอบเข้ายากที่สุดแต่ก็ดีที่สุดเช่นกัน
เวลาเรียน
                คณะแพทยศาสตร์นั้นต้องเรียนทั้งหมด6ปี และเมื่อจบ6ปีแล้วต้องไปทำงานใช้ทุน3 ปีแล้วไปเรียนต่อเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทาง3-5ปี
เรียนอะไรบ้าง
ปี 1-3 เรียน Basic science และ Basic medical science
Basic science คือเคมี ชีวะ ฟิสิกส์
Basic medical science เป็นวิชาแพทย์ครับ
- behavior sci เป็นวิชาการจัดการ จิตวิตยา การวิจัย การเข้าใจคนไข้
- anatomy กายวิภาค เป็นสิ่งที่จับต้องได้ทั้งหมด
- physiology เป็นการทำงานของร่างกาย
- pathology การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ทำให้เกิดโรค
- phamacology เรื่องของยาหลักการ การออกฤทธิ์ กลไล ฯลฯ

แล้วแต่ละเรื่องต่อไปนี้จัดเรียนทีละระบบ เป็น
- basic sci เกี่ยวกับเชื้อโรค กลไกการเกิด
- Integument ระบบปกคลุมร่างกาย เช่น ผิว ผม เล็บ
- locomotive ระบบเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว ได้แก่กระดูก กล้ามเนื้อ
- cardiovascular ระบบหัวใจและหลอดเลือด
- respi การหายใจ
- gastro-intestinal ทางเดินอาหาร
- KUB ทางเดินปัสสาวะ
- reproductive การสืบพันธ์
- neurology ระบบประสาท  ทั้งหมดนี้ส่วนใหญ่เรียนปี 2 กับปี 3

ปี 4-5 จะเป็น clinical skill คือการเรียนรู้การทำงานจริง และการฝึกกับผู้ป่วยจริงก็จะแบ่งตามการทำงาน
- OB-gyne สูติ-นรีเวช
- surgery การผ่าตัด
- internal medicine การรักษาโดยการใช้ยา
- pediatric เด็ก
- orthopedics กระดูกและข้อ
- ophthalmology ตา
- ENT หู คอ จมูก
- Emergency ฉุกเฉิน
- Anas ดมยาสลบ
- commed-fammed การดูแลแบบองค์รวม การทำวิจัย
- psychiatric จิตเวช
- rehabilitation กายภาพบำบัด

ปีที่ 6
เป็นการเริ่มทำงานจริง ภายใต้การควบคุม วนไปหลายหลายส่วนหลายๆโรงบาล ทำงานอาทิตย์ละ 7 วัน ปีละ 52 อาทิตย์



เกี่ยวกับมหาลัย 
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มหาลัยมหิดล ข้อมูลเบื้องต้น
Mahidol University (MU)
ก่อตั้ง: พ.ศ. 2512
ต้นไม้ประจำสถาบัน: ต้นกันภัยมหิดล
สีประจำสถาบัน: สีน้ำเงินแก่
จำนวนคณะ: 16 คณะ 6 วิทยาลัย0.
จำนวนนักศึกษา: ประมาณ 25,660 คน
อัตราค่าเล่าเรียน: หลักสูตรปกติหน่วยกิตละ 200-400 บาท
ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์:
- มหาวิทยาลัยมหิดล ณ ศาลายา 25/25 หมู่ 5 ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ศาลายา พุทธมณฑล จังหวัด นครปฐม
โทร. 0 2441 9522
- มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี 199 หมู่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
โทร. 0 3458 5058
- มหาวิทยาลัยมหิดล ณ นครสวรรค์ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
โทร. 0 5627 4335
เว็บไซต์: www.mahidol.ac.th, www.ka.mahidol.ac.th (กาญจนบุรี), www.na.mahidol.ac.th (นครสวรรค์)

"ปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล - ปัญญาของแผ่นดิน"
ประวัติ
มหาวิทยาลัยมหิดลมีอายุยาวนานมากว่า 100 ปี โดยมีวิวัฒนาการแบ่งได้เป็น 5 ยุค คือ ยุคโรงศิริราชพยาบาล ยุคโรงเรียนแพทยากร ยุคโรงเรียนราชแพทยาลัย โดยเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยุคมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และยุคมหาวิทยาลัยมหิดล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ถือเป็นผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยมหิดล โดยในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2429 นั้น พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะคอมมิตตีจัดสร้างโรงพยาบาล และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 200 ชั่ง (16,000 บาท) ให้เป็นทุน และได้พระราชทานที่ดินส่วนหนึ่งของวังหลังมาเป็นสถานที่สร้างโรงพยาบาลแห่งแรก ซึ่งพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลนี้เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2431 ล และพระราชทานนามว่า "โรงศิริราชพยาบาล"
จากนั้นในปี 2432 ได้มีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น ณ โรงศิริราชพยาบาล รับนักเรียนซึ่งมีพื้นความรู้อ่านออกเขียนได้ ใช้เวลาเรียน 3 ปี จบแล้วได้รับประกาศนียบัตรแพทย์ โดยนักเรียนแพทย์รุ่นแรกมีทั้งสิ้น 15 คน แต่สำเร็จการศึกษาเพียง 9 คน โรงเรียนแพทย์แห่งนี้ต่อมาได้ถูกตั้งชื่อว่า "โรงเรียนแพทยากร" ในปี 2436 จนกระทั่งในปี 2439 สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลขึ้นในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล นับเป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย และยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างตึกเรียนและเรือนพักนักเรียนแพทย์ขึ้นใหม่ในปีต่อมา
ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกโรงเรียนแพทย์แห่งใหม่นี้ และพระราชทานนามใหม่ให้ว่า "โรงเรียนราชแพทยาลัย" โดยมีนายแพทย์ ยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (ศาสตราจารย์พระอาจวิทยาคม) เป็นผู้อำนวยการทั้งฝ่ายโรงพยาบาลและฝ่ายโรงเรียนแพทย์ หลังจากนั้นในปี 2446 หลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตรก็ถูกขยายออกเป็น 4 ปี และในปี 2456 หลักสูตรได้ถูกขยายออกไปอีกเป็น 5 ปี และรับนักเรียนที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6
ต่อมาในปี 2459 "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ได้รับการสถาปนาเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" โรงเรียนราชแพทยาลัยถูกรวมเข้าเป็น "คณแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ซึ่งในปีต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล" เปิดสอนหลักสูตรแพทย์ประกาศนียบัตร 6 ปี
หลักสูตรปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิตเริ่มต้นขึ้นในปี 2464 หลังจากที่มูลนิธิ ร็อกกี้เฟลเลอร์ เข้ามาช่วยปรับปรุงการศึกษาแพทย์ และรับนิสิตเตรียมแพทย์ปริญญารุ่นแรกจากนักเรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 8
จนกระทั่งในปี 2486 ได้มีการสถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ โดยแยกคณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาฯ มาตั้งเป็นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข หลังจากนั้นก็มีการจัดตั้งคณะวิชาอื่นๆ ขึ้นมาอีกหลายสาขา เช่น คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์ คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน (ปัจจุบันเป็นคณะเวชศาสตร์เขตร้อน) และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ปัจจุบันคือคณะวิทยาศาสตร์) รวมถึงได้มีการโอนย้ายสังกัดบางคณะ เช่น โอนคณะสัตวแพทยศาสตร์ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปสังกัดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
และในที่สุดเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ โดยจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ และพระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของพระบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และยังเป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและการสาธารณสุขในประเทศไทยเป็นชื่อมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งอยู่ใน 3 พื้นที่ ได้แก่
1. พื้นที่เขตบางกอกน้อย กทม. มีเนื้อที่ประมาณ 72 ไร่ เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เทคนิคการแพทย์ และพยาบาลศาสตร์
2. พื้นที่เขตราชเทวี กทม. มีเนื้อที่ประมาณ 198 ไร่ ซึ่งยังแบ่งได้อีกเป็น 3 บริเวณคือ บริเวณถนนศรีอยุธยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์ บริเวณถนนพระราม 6 ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ และแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และบริเวณถนนราชวิถี ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ เวชศาสตร์เขตร้อน และทันตแพทย์ศาสตร์
3. พื้นที่ ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม มีเนื้อที่ประมาณ 1,239 ไร่ เป็นที่ตั้งของคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ชั้นที่ 1-2 คณะสัตวแพทยศาสตร์ วิทยาลัยราชสุดา วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และวิทยาลัยศาสนศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี บัณฑิตวิทยาลัย และสถาบันต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย
นอกจากนี้ ม.มหิดล ยังมีหน่วยงานที่ตั้งอยู่ภายนอกมหาวิทยาลัยอีกคือ วิทยาลัยการจัดการ (College of Management) 2 แห่งสำหรับการศึกษาระดับปริญญาโท-เอก คือที่ ชั้น 4 อาคาร 2 อาคารไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า ถ.รัชดาภิเษก กทม. ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับหลักสูตรนานาชาติ และที่ชั้น 13 อาคารรัจนาการ ถ.สาทรใต้ กทม. สำหรับหลักสูตรภาษาไทย และได้ดำเนินโครงการขยายการศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค 3 แห่ง ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.นครสวรรค์ และ จ.อำนาจเจริญ
สัญลักษณ์
ตรามหาวิทยาลัย ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2512
"สีน้ำเงิน" ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล (พระยศในขณะนั้น) เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2512
"ต้นกันภัยมหิดล" จากการที่มหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดการประกวดต้นไม้สัญลักษณ์ในปี 2542 สมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ได้ประทานพระกรุณาธิคุณทรงมีพระวินิจฉัยชี้ขาดให้ต้นกันภัยมหิดลเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย โดยมีเหตุผลว่า เป็นต้นไม้ที่พบในประเทศไทย สามารถปลูกได้ง่าย ลักษณะสวยงามแม้จะเป็นไม้เถา มีนามเป็นมงคลและพ้องกับนามมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมีอายุยืนหลายปี แม้เมื่อเถาแห้งไป ก็สามารถงอกงามขึ้นได้ใหม่ ซึ่งความเป็นไม้เถานี้สื่อความหมายถึงความก้าวหน้าและความสามารถในการปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี
 

วิจารณ์บล็อก



 

 
                เขียนได้ดูสนุกน่าติดตาม เห็นได้ชัดว่าผู้เขียนเป็นคนที่ร่าเริงและมีพลังเหลือล้นอย่างมาก มีภาพถ่ายเยอะทำให้ดูน่าอ่านมากยิ่งขึ้น แต่เนื้อความกลับมีน้อยเกินไปยิ่งเมื่อเขียนเนื้อความเพียงเล็กน้องแล้วต่อด้วยรูปภาพจำนวนมากทำให้รู้สึกติดขัด ทั้งยังเขียนด้วยภาษาที่ห้วนและอ่านได้ไม่ไหลลื่นมากนัก

 

                ภาษาไหลลื่นอ่านได้ไม่ติดขัด มีรูปที่ช่วยดึงดูดความสนใจร่วมกับการบรรยายได้อย่างพอเหมาะ    มีการลงข้อมูลการเดินทางประกอบสำหรับผู้ที่สนใจ แต่เนื้อหาเหมือนเป็นการบอกเล่าการเดินทางมากกว่าการรีวิว เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับกิจกรรมที่ผู้เขียนกับครอบครัวทำกันแต่กลับมีเรื่องเกี่ยวกับสถานที่น้อยมาก ทำให้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าวังน้ำเขียวนั้นมีจุดดีหรือจุดเด่นที่ควรไปมากกว่าที่อื่นอย่างไรอย่างไร



 

                ใช้ภาษาเป็นกันเอง อ่านง่าย และชวนให้ติดตาม มีข้อมูลการเดินทางให้สำหรับคนที่สนใจ ภาพประกอบสวยดึงดูดความสนใจได้ดี มีการจัดวางที่ลงตัวสวยงาม แต่เนื้อหาสั้นเกินไปจนยังไม่ทันได้เข้าใจเสน่ห์ของเกษตรแฟร์


แนะนำหนังที่หาดูได้ในNetflix


แนะนำหนังที่หาดูได้ใน Netflix
1. The lion woman
                ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ the lion woman
                
                หนังนอร์เวย์ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่เกิดมามีขนอยู่เต็มตัว ในวันที่เธอเกิดมานั้นแม่ของเธอได้ตายเพราะหนังจากคลอดเธออกมา พ่อของเธอจึงไม่ยอมรับเธอ
                ในหนังจะบอกเล่าถึงเรื่องราวของเธอตั้งแต่เกิดจนโต ซึ่งสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างไหลลื่นไม่มีติดขัด ทำให้เราเกิดอารมณ์ร่วมไปกับหนัง มีจุดที่ทำให้ประหลาดใจและสามารถสร้างอิมแพคในตอนท้ายได้อย่างน่าประทับใจ
 
2. Devilman crybaby
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ devilman crybaby

Warning: R16 Nudity sex, Substance(ยาเสพติด),Violence(ความรุนแรง) [ในไทยน่าจะR18]
การ์ตูนญี่ปุ่นซึ่งเป็นผลงานOriginalของNetflix สร้างโดยอ้างอิงมาจากหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นในช่วงยุค70s มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับฟุโด อากิระเด็กหนุ่มผู้อ่อนโยนที่ถูกปิศาจเข้าสิงและรู้เกี่ยวกับแผนการยึดครองโลกมนุษย์ของปิศาจ อาสุกะ เรียวเด็กหนุ่มอัจฉริยะที่เป็นเพื่อนสนิทนั้นจึงแนะนำให้รวบรวมเหล่าDevilman ผู้ที่ถูกปิศาจเข้าสิงแต่ยังมีหัวใจเป็นมนุษย์แบบอากิระ
Netflix นั้นหยิบการ์ตูนเก่าซึ่งเป็นตนแบบของการ์ตูนหลายๆเรื่องในยุคหนังมาทำใหม่ด้วยลายเส้นที่แปลกตาแต่กลับสามารถเข้ากับเนื้อหาได้ดีและดัดแปลงให้ทันสมัยจนเราไม่คิดเลยว่าจะมาจากการ์ตูนในยุค70s  ในเรื่องนั้นจะค่อยๆไต่ระดับความรุนแรงขึ้นไปเรื่อยๆ มีจุดหักมุมที่เกิดคาดเต็มไปหมด และแสดงให้เห็นถึงความเป็นมนุษย์ได้อย่างดี และเมื่อดูจบจะทำให้เราเกิดตะกอนความคิดมากมายจากในเรื่อง
3.The Disastrous Life of Saiki K.
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ the disastrous life of saiki k

                การ์ตูนญี่ปุ่นที่สร้างจากหนังสือการ์ตูนตลกในนิตยสารโชเน็นจัมป์ เนื้อเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของไซคิ คุสึโอะเด็กหนุ่มที่มีพลังจิตมาตั้งแต่เกิด กับเรื่องวุ่นวายต่างๆจากเพื่อนๆ
                เป็นการ์ตูนตลกคอเมดี้ที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัย มุขที่ค่อนข้างเข้าใจง่ายที่เกิดจากพฤติกรรมเพี้ยนๆของตัวละครในเรื่องและพลังจิตของตัวเอก เหมาะสมหรับคนที่ต้องการคลายเครียดเป็นอย่างดี

4. A Korean Odyssey
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ตำนาน ไซ อิ๋ ว ฉบับ เกาหลี


ซีรีย์เกาหลีที่นำเอาไซอิ๋วมาเป็นต้นแบบและดัดแปลงใหม่โดยมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับจิน ซอนมี เป็นเด็กสาวกำพร้าที่อาศัยอยู่กับยาย เธอเป็นคนที่เห็นวิญญาณมาตั้งแต่เด็กและด้วยความแปลกนั้นทำให้เธอไม่มีเพื่อน เลือดของเธอจะดึงดูดความสนใจจากเหล่าปีศาจและวิญญาณ    
 มีหลากหลายอารมณ์ในเรื่องเดียวทั้ง เศร้า ซึ้ง ตลก มันส์ และโรแมนติค ดำเนินเรื่องดีไม่น่าเบื่อ ทั้งยังมีสเปเชียลเอฟเฟคที่อลังการพอสมควรทำให้ไม่ขัดตา มีบทชวนให้รู้สึกประทับใจไปกับความรักของพระเอกและนางเอก
5. Violet Evergarden
 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ violet evergarden


การ์ตูนญี่ปุ่นที่สร้างจากนิยายที่ชนะการประกวดของTokyo Anime เป็นเรื่องเกี่ยวกับไวโอเลต เอเวอร์การ์เดน เด็กสาวผู้เติบโตมาในฐานะอาวุธของกองทัพที่ไร้ความรู้สึก หลังสงครามจบเธอได้มาทำงานเป็นคนเขียนจดหมายเพื่อที่จะเข้าใจคำพูดของผู้พันของเธอ
                ในเรื่องสามารถถ่ายทอดร้อยเรียงเรื่องรายความรักในรูปแบบต่างๆในรูปแบบของจดหมายตามธีมเรื่องออกมาได้อย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการของตัวเอกที่ค่อยๆเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้นทีละนิดๆ และเสริมด้วยงานภาพและดนตรีที่สวยงามทำให้ยิ่งเป็นงานภาพยนต์ที่มีคุณค่าแก่การรับชมอย่างมาก



เล่าเจี้ยง

เล่าเจี้ยง เจ้าเมืองเสฉวน ผู้เสียเมืองให้แก่ญาติ (เล่าปี่) เล่าเจี้ยงเป็นเชื้อพระวงศ์ฮั่นเหมือนเล่าปี่ ปกครองดินแดนเสฉวนต่อจากบิดา เล่าเ...